เมนู

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามากฉลาดในสมาธิ
และญาณ ผู้บรรลุบารมีด้วยปัญญา ทูลถามพระผู้นำ
โลกว่า
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหาร
ของพระองค์เป็นเช่นไร.
ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า พระองค์ทรงปรารถนา
พระโพธิอันสูงสุดเมื่อกาลไร พระเจ้าข้า.
ถามว่า อนุสนธินี้ ชื่ออะไร ตอบว่า ชื่อว่าปุจฉานุสนธิ จริงอยู่

อนุ-
สนธิ มี 3

คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ. ใน
อนุสนธิทั้ง 3 นั้น พึงทราบ ปุจฉานฺสนธิ โดยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงตอบปัญหาของผู้ถามอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งก็ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน
เป็นอย่างไร ฝั่งนอกเป็นอย่างไร.
อัชฌาสยานุสนธิ พึงทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธ-
ยาศัยของผู้อื่นแล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เกิดปริวิตกแห่งใจอย่าง
นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ก็เป็นอนัตตาดังนี้ กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตนอย่างไร. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ ปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัย
จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน
ในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ อยู่ในอวิชชา พึงสำคัญสัตถุศาสน์ว่าพึงแส่ไปด้วยใจที่มี
ตัณหาเป็นอธิปไตย ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตาอย่างนี้ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตน
อย่างไร ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.1

1. ท. อุปริ. 14/ข้อ 129.

อนึ่ง เทศนาในชั้นต้น ตั้งขึ้นโดยธรรมใด เทศนาชั้นสูงมาใน
พระสูตรเหล่าใด โดยธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น หรือโดยคัดค้าน ยถานุสนธิ
ก็พึงทราบโดยอำนาจพระสูตรเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าเป็น
ปุจฉานุสนธิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญาย ปารมิปฺปตฺโต ความว่า
ถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ. บทว่า ปุจฺฉติ แปลว่า ได้ถามแล้ว. ในคำว่า
ปุจฺฉติ นั้น ชื่อว่าปุจฉา มี 5 อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ทิฏฐสัง-
สันทนาปุจฉา วิมติจเฉทนาปุจฉา อนุมติปุจฉา กเถคุกัมยตาปุจฉา. ถ้าจะถาม
ว่า ในปุจฉาเหล่านั้น ปุจฉาของพระเถระนี้ ชื่อว่าปุจฉาอะไร. ตอบว่า เพราะ
เหตุที่พุทธวงศ์นี้มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สร้างสมบุญสมภาร
มาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป และของพระอัครสาวกทั้งสอง ผู้สร้างสมบุญ-
สมภารมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป หรือของพระมหาสาวกที่เหลือ ผู้สร้างสม
บุญสมภารมาแสนกัป เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น เพราะ
ฉะนั้น ปุจฉาของพระเถระพึงทราบว่า เป็นอทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ศัพท์ว่า กีทิโส เป็นอาการถาม อธิบายว่ามีประการไร. บทว่า เต
แปลว่า ของพระองค์. บทว่า อภินีหาโร ความว่า การผูกใจเพื่อเป็นพระ-
พุทธเจ้า นอนอธิษฐานความเพียรว่าเราไม่ได้คำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าจัก
ไม่ลุกขึ้นดังนี้ ชื่อว่าอภินีหาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร.
บทว่า กมฺหิ กาเลแปลว่าในกาลไร. บทว่าปตฺถิตา แปลว่าปรารถนา
แล้วหวังแล้ว. พระเถระทูลถามว่า ทรงทำการตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธ
เจ้าไว้เมื่อไร โดยนัยเป็นต้นว่า พึงตรัสรู้เป็นพระผู้ตรัสรู้ พึงพ้นเป็นพระผู้พ้น.

บทว่า โพธิ ได้แก่ สัมมาสัมโพธิ คำนี้เป็นชื่อของพระอรหัตมรรคญาณ และ
พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า อุตฺตมา ได้แก่ ท่านกล่าวว่าสูงสุด เพราะ
ประเสริฐกว่าสาวกโพธิและปัจเจกโพธิ. อักษรทำบทสนธิระหว่างศัพท์
ทั้งสอง
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทูลถามถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึง
กล่าวว่า
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ เป็นเช่นไร
ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขาเป็นเช่นไร
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้นำโลก บารมี 10 เป็น
เช่นไร อุปบารมี เป็นเช่นไร ปรมัตถบารมี เป็น
เช่นไร.


แก้อรรถ


บรรดาบารมีเหล่านั้น จะกล่าวทานบารมีก่อน การบริจาคสิ่งของ
ภายนอก ชื่อว่า บารมี. การบริจาคอวัยวะชื่อว่า อุปบารมี. การบริจาคชีวิต
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี. แม้ในบารมีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บารมี 10


อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 รวมเป็นบารมี 30 ทัศ ด้วยประการฉะนี้.
ในบารมี 30 ทัศนั้น อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีก็นับไม่
ถ้วน ในสสบัณฑิตชาดก ทานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละ
ชีวิตเป็นปรหิตประโยชน์อย่างนี้ว่า
ภิกฺขาย อุปคตํ ทิสฺวา สกตฺตานํ ปริจฺจชึ
ทาเนน เม สโม นตฺถิ เอสา เม ทานปารมี.